ศาลเจ้าพ่อเสือ เสาชิงช้า เป็นศาลที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองไทย แต่เดิมตั้งอยู่ถนนบำรุงเมือง หลังจากการนั้นมีการขยายถนนในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงทำให้ต้องมีการย้ายศาลเจ้าพ่อเสือมาไว้ ณ บริเวณ ถนน ตะนาว จนถึงปัจจุบัน
ลักษณะอาคารสร้างตามรูปแบบศาลเจ้าที่นิยมทางภาคใต้ของจีน องค์ประธานของศาลเจ้าพ่อเสือ คือ ตั๋วเหล่าเอี้ยหรือเจ้าพ่อใหญ่ เทพเจ้าตั่วเหล่าเอี๊ย หรือองค์เทพเฮี่ยงเทียนเสี่ยงตี่
ศาลเจ้าพ่อเสือ เสาชิงช้า ถือเป็จีนแต้จิ๋วที่ถือว่าเก่าแก่และมีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่ง คนจีนเรียกว่า “ตั่วเล่าเอี้ย” เป็นศาลเจ้าที่ประดิษฐาน เฮี้ยงเทียนเซียงตี่, รูปเจ้าพ่อเสือ, เจ้าพ่อกวนอู และ เจ้าแม่ทับทิม ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของทั้งคนไทยและจีนเป็นอย่างมาก ศาลเจ้าพ่อเสือ มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เดิมตั้งอยู่ริมถนนบำรุงเมือง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้ขยายถนนบำรุงเมือง และให้พระยาโชฎีกราชเศรษฐีย้ายศาลมาไว้ที่ทางสามแพร่ง ถนนตะนาว จนถึงปัจจุบัน
อาคารของศาลเจ้าพ่อเสือ สร้างตามรูปแบบศาลเจ้าที่นิยมทางภาคใต้ของจีน เทพเจ้าประจำศาล คือ เสียนเทียนซั่งตี้หรือเจ้าพ่อเสือ ซึ่งเป็นที่เลื่องชื่อในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมาก สำหรับการสร้างศาลประดิษฐานรูปเสือนั้น เป็นการนำเอากระดูกเสือบรรจุในแท่นปั้นรูปประดิษฐานบนแท่น อัญเชิญดวงวิญญาณเสือขอให้ปกปักรักษาประชาชนให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข
ตำนานของเจ้าพ่อเสือที่ชาวบ้านย่านนี้ เล่าขานมีความเชื่อมโยงกับหลวงพ่อพระร่วง วัดมหรรณพารา (วัดมหรรณพ์) ซึ่งสะท้อนถึงความสัมพันธ์ ระหว่างพี่น้องชาวไทยและชาวจีนในละแวกนี้ที่มีมาช้านาน
วิธีไหว้
สิ่งที่ต้องใช้ เทียนแดง 1 คู่ ธูป 18 ดอก
หากมีเครื่องสักการะ เช่น กระดาษไหว้ พวงมาลัย ผลไม้ ให้นำของทั้งหมดไปจัดวางให้เรียบร้อยก่อนจุดเทียน จุดธูป
ส่วนหมูสามชั้น ไข่ และ ข้าวเหนียวถวายได้เฉพาะเจ้าพ่อเสือซ้ายมือสุดเท่านั้น
โต๊ะวางของไหว้มี 8 ที่
- ทีกง เทพยดาฟ้าดิน
- ตั่วเหล่าเอี๊ยกง (เหี่ยงเทียงเสี่ยงตี่ องค์ประธาน)
- เจ้าพ่อเสือ (ซ้ายสุด)
- เจ้าพ่อกวนอู ไฉ่ซิงเอี้ยกง (ขวาสุด)
- เทพเจ้าเห้งเจีย
- เสด็จพ่อปิยมหาราช
- องครักษ์เจ้าพ่อข้างประตูขวา
- องครักษ์เจ้าพ่อข้างประตูซ้าย
สามารถเลือกถวาย หรือถวายให้ครบทั้ง 8 ที่ ก็ได้
เมื่อวางของถวายเรียบร้อยแล้ว จึงจุดเทียนที่ตะเกียงแล้วนำไปปักที่กระถางเถียนด้านใน แล้วจึงจุดธูป 18 ดอกมและทำการสักการะโดยเริ่มต้นจากทีกงก่อนเป็นอันดับแรก
1.กระถางทีกงเทพยาดาฟ้าดิน ด้านหน้าสังเกตุที่เสามังกร 3 ดอก
2.กระถางตรงกลาง ตั่วเหล่าเอี้ยกง (เจ้าพ่อใหญ่) 3 ดอก
3.กระถางซ้ายเจ้าพ่อเสือ 3 ดอก
4.กระถางขวามือ เทพเจ้ากวนอู เทพเจ้าโชคลาภและรวม 3 ดอก
5.กระถางข้างประตูใหญ่ขวามือ องค์รักษ์เจ้าพ่อ 3 ดอก
6.กระถางข้างประตูใหญ่ซ้ายมือ องค์รักษ์เจ้าพ่อ 3 ดอก
จากนั้นในกรณีจะมาทำพิธีปัดตัวสะเดาะเคราะห์ หลังจากซื้อชุดปัดตัวเรียบร้อยให้เดินขึ้นไปด้านบนสุดขวามือหน้าเทพเจ้ากวนอู จะมีเจ้าหน้าที่ศาลเจ้าสอนครับ ปีนี้ปัดทั้งหมด 12 ครั้ง จากนั้นนำกระดาษไปเผาที่เตาครับ
เมื่อไหว้เรียบร้อยแล้ว ให้ลากระดาษไหว้ นำไปเผาที่เตา
ส่วนผู้ที่ถวาย เนื้อหมู ไข่ ที่เจ้าพ่อเสือ ด้านซ้าย จะมีเจ้าหน้าที่คอยทำพิธี ถวายที่ปากของเจ้าพ่อเสือ และ เจ้าหน้าที่จะ ร้องว่า เฮง เฮง เฮง เป็นการอวยพร
สุดท้ายเติมน้ำมันตะเกียง 4 ดวง และลาผลไม้กลับบ้าน
ที่ตั้งศาลเจ้าพ่อเสือ
468 ถนนบ้านตะนาว แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร กรุงเทพฯ (ใกล้เสาชิงช้า) เปิดทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น. เวลาที่เหมาะสมสำหรับการไปสักการะคือ 06.00-17.00 น. ควรแต่งกายสุภาพ
ข้อมูล/รูปภาพ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย | ศาลเจ้าพ่อเสือเสาชิงช้า
ติดตามเรื่องเล่าจีน ได้ที่ ช่อง chinatalks และ Fanpage : Chinatalks