ตามตำราแพทย์แผนโบราณของจีนระบุว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกใบนี้ แบ่งเป็น 2 ประเภทตามทฤษฎีหยิน-หยาง ถือเป็นพลังธรรมชาติที่ตรงกันข้าม ซึ่งร่วมกันรักษาความสมดุลของสิ่งมีชีวิต
ส่วนชาวตะวันตก เชื่อกันว่าในโลกมีพลัง 2 อย่างคือ พลังหดตัวและพลังขยายตัว อาหารก็เช่นกัน แบ่งเป็นอาหารหยินหรืออาหารลักษณะหดตัว และอาหารหยางหรืออาหารลักษณะขยายตัว
สำหรับอาหาร ก็สามารถแบ่งได้เป็นอาหารหยินและหยาง โดย
อาหารหยิน ธาตุเย็น มีลักษณะคือเก็บไม่นาน หรือเก็บยาก เน่าง่าย มีรูเยอะ เบา น้ำซึมออกไปได้ง่าย ถ้าเป็นพืชก็เติบโตเร็ว ชอบอากาศอุ่นชื้น มีลักษณะเย็น ชื้น อ่อนนิ่ม มีน้ำเยอะ ฉ่ำ รสชาติหวาน เปรี้ยว หรือขมนิดหน่อย ส่วนใหญ่รับประทานสด ๆ ได้ ใบใหญ่ เป็นรูปกลม สุกง่าย
ผลไม้และผักสดส่วนใหญ่เป็นอาหารเย็น อย่างผลไม้ มีสาลี่ ส้ม สตรอเบอร์รี เชอร์รี ใส้เม็ดบัว ลิลี่ ลูกพลับ ส้มโอ กล้วยหอม มะเฟือง มะเดื่อ กีวี อ้อย แตงโม แตงหวาน องุ่น กระจับ
ผักหยินหรือผักลักษณะเย็นมี มะเขือเทศ ผักชีฝรั่ง ผักขึ้นฉ่าย มะเขือ ผักน้ำมัน ผักปวยเล้ง เต้าหู้ รากบัว ฟักเขียว มันเทศ บวบ สาหร่ายทะเล เห็ด ผักบุ้ง หน่อไม้ มะระ กะหล่ำดอก
ส่วนอาหารธาตุหยางมีลักษณะเนื้อแน่น หนัก เก็บได้นาน ชอบอากาศหนาว เติบโตช้า แข็ง ต้องต้มให้สุกก่อนจะรับประทาน มีลักษณะอุ่นและแห้ง รสชาติเผ็ดหรือเค็ม เนื้อมีน้ำน้อย เปลือกแข็ง ใบเล็ก บางอย่างต้มยิ่งนานยิ่งแข็ง
อาหารหยาง กินแล้วให้ความรู้สึกร้อน มีรสชาติเผ็ด หวาน รวมไปถึงอาหารที่ผ่านการปรุงรสด้วยวิธีทอด ย่าง รมควัน เป็นต้น เนื้อสัตว์ ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อไก่ เนื้อแพะ เป็นต้น ผักและผลไม้ ได้แก่ มะเขือยาว พริก ผักชี ต้นกระเทียม ขิง มะละกอ โหระพา กาแฟ ถั่วลิสง เป็นต้น