ปิงถังหูลู เป็นขนมหวานโบราณยอดนิยมชนิดหนึ่งของจีน มักจะถูกนำมาขายเฉพาะช่วงที่อากาศหนาวเย็น เพราะน้ำตาลจะแข็งตัวเร็วและละลายช้า และมักไม่ถูกนำมาเร่ขายตามท้องถนนทั่วไปในฤดูร้อน
ปิง 冰 แปลว่า เย็น, น้ำแข็ง ถัง 糖 แปลว่า น้ำตาล หูลู 葫芦 แปลว่า น้ำเต้า ซึ่งคนจีนจะเรียกสิ่งของที่ร้อยเรียงกันว่าน้ำเต้า หรือ หูลู่ 葫芦 เมื่อรวมกันจึงแปลตรงตัวได้ว่า น้ำเต้าเคลือบน้ำตาลเย็น แต่ความจริง หมายถึง ผลไม้ที่เสียบไม้เรียงกันเคลือบน้ำตาลเย็น นั่นเอง
ปิงถังหูลู มักทำจากผลซานจาสด ร้อยไม้เรียงกันแล้วนำไปเคลือบน้ำตาล รสชาติจะเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ ปิงถังหูลู
ในยุคโบราณ มีแต่การใช้ผลซานจา 山楂 มาทำขนมชนิดนี้ แต่ในปัจจุบัน ผลไม้ที่ถูกนำมาทำขนมปิงถังหูลู มีหลายหลายมากขึ้น
ผลซานจา (山楂) | ผลพุทรา (枣子) |
คนไทยหลายคนมักเข้าใจผิดว่าทำจากผลพุทรา 枣子 ความจริงแล้วผลซานจา 山楂 กับผลพุทรา เป็นผลไม้คนละชนิดกัน
ที่มาของปิงถังหูลู
ในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ ในยุคของจักรพรรดิ์ซ่งกวงจง 光宗皇พระสนมหวงกุ้ยเฟย สนมองค์โปรดขององค์จักพรรดิ์ได้ล้มป่วย แม้ว่าหมอหลวงจะทำการตรวจรักษาด้วยยาชั้นดีใด ๆ อาการของพระสนมก็ไม่ดีขึ้น จนองค์จักรพรรดิ์ทรงทุกข์ใจที่สนมอันเป็นที่รักล้มป่วย
เมื่อหมอหลวงทั้งหลายไม่สามารถทำการรักษาพระสนมได้ องค์จักรพรรดิ์จึงได้มีประกาศเชิญหมอทีมีความสามารถทั้งหลายให้มารักษาอาการของพระสนม จนในที่สุดก็พบหมอคนหนึ่ง ซึ่งเมื่อได้มาดูอาการของพระสนมแล้ว ก็บอกว่าอาการของพระสนมรักษาได้โดยให้นำผลไม้สีแดง เช่น ผลพุทรามาต้มกับน้ำตาลเพื่อให้พระสนมเสวย 5-10 ผล ก่อนมื้ออาหาร อาการของพระสนมก็จะหายดี
ในตอนแรกทุกคนต่างสงสัยในวิธีการรักษาของหมอ แต่กลับปรากฎว่าเมื่อพระสนมหวงกุ้ยเฟยได้กินผลไม้เชื่อมน้ำตาลเหล่านั้นแล้วพระอาการก็ดีขึ้น
ต่อมาชาวบ้านจึงได้เลียนแบบวิธีการนำผลไม้มาเชื่อมน้ำตาลร้อยใส่เป็นไม้คล้ายน้ำเต้า จนเป็นที่มาของปิงถังหูลู นั่นเอง