ก๋งเป็นคนจีนทั้งเชื้อชาติและสัญชาติ เข้ามาอยู่เมืองไทยในฐานะผู้พึ่งโพธิสมภารกษัตริย์ไทย ตั้งแต่อายุ 18 ปี บำเพ็ญตนเยี่ยงข้าแผ่นดิน…
หนังสือ อยู่กับก๋ง วรรณกรรมเรื่องเยี่ยม ของ หยก บูรพา นามปากกาของคุณเฉลิมศักดิ์ รงคผลิน เรื่องราวที่ผู้แต่งเขียนขึ้นจากประสบการณ์จริง โดยมีตัวเอกของเรื่องคือเด็กผู้ชายที่ชื่อ หยก เล่าถึงชีวิตในสมัยวัยเด็ก ซึ่งอยู่กับก๋งชาวจีน ผู้อพยพจากผืนแผ่นดินบ้านเกิดมาอยู่เมืองไทย
อยู่กับก๋งเป็นนวนิยายที่ให้ข้อคิด แนวคิดและวีถีการดำเนินชีวิตที่ดีงาม พร้อมทั้งเล่าเรื่องราวของการดำเนินชีวิตและอาชีพของคนจีนในอดีต
รางวัลดีเด่นจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ
เรื่องย่อ
หยก ชาย ชราวัย 60 ปี ประสบความสำเร็จในอาชีพนักเขียนของตน มีผลงานตีพิมพ์มากมาย ทุก วันนี้เขาอาศัยอยู่กับครอบครัวใหญ่ มีลูกหลานมากมาย เมื่อ มองภาพครอบครัวที่อบอุ่นอย่างทุกวันนี้ หยก มักจะย้อนคิดถึงวัยเด็กที่มีเพียงเขาและ ก๋ง ทุกครั้ง
ก๋ง ชาย ชราชาวจีนที่อพยพเข้ามาประเทศไทย ตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลก ก๋งเป็นช่างฝีมือ ประกอบ อาชีพหลักคืองานช่าง อันเป็นวิชาที่ติดตัวมาจากเมืองจีน
ความคิดอ่านที่กว้างไกลและความเมตตาของก๋ง ทำให้ ก๋งได้รับการนับหน้าถือตาจากผู้คนมากมายในชุมชนห้องแถวที่อาศัยอยู่ ซึ่ง ผลบุญนี้ได้ตกมาถึง หยก เด็กกำพร้าที่ก๋งได้อุปการะไว้ หยก เติบโตอย่างอบอุ่นภายใต้การเลี้ยงดูของก๋ง แต่เขาก็ยังรู้สึกถึงความไม่สมบูรณ์ของตัวเอง
หยก มักสงสัยว่าทำไมตนจึงไม่มีพ่อแม่เหมือนคนอื่น จนวัน หนึ่งหยกได้พบเห็นเด็กกำพร้าที่ถูกเอามาวางทิ้งไว้ หยก จึงได้เข้าใจว่าโลกนี้ยังมีเด็กโชคร้ายอีกหลายคนนัก และเพื่อนเขาบางคนเช่น ป้อม ลูก ชายของ คุณนายทองห่อ กับคุณปลัด ที่แม้จะมีพ่อแม่พร้อมหน้า หาก หยกได้รู้ความจริงว่าภายใต้รอยยิ้มนั้น มีแต่การปั้นหน้าใส่กัน หยกจึงเข้าใจว่า แท้ จริงแล้วการที่เขามีก๋งคอยให้ความรักกับเขาอย่างแท้จริงต่างหากที่ทำให้เขาเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แล้ว
ชุมชนห้องแถวที่ก๋งและหยกอาศัยอยู่เป็นแหล่งรวมคนจีนมากหน้า เพื่อน บ้านที่สนิทกันอยู่ก็คือ เง็กจู ซึ่ง เป็นที่ยึดติดกับธรรมเนียมจีนอย่างเหนียวแน่น และไม่ค่อยยอมรับความเปลี่ยนแปลง เง็กจูมีลูกชายคือ เพ้ง และลูกสาวคือ เกียว หลายครั้งที่เง็กจูมีปัญหากับลูก ก๋งจะ เป็นคนคอยแก้ปัญหาให้ทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นตอนที่เกียวแหกประเพณีเดิมของผู้หญิงจีนหนีไปเรียนภาคค่ำ หรือ ตอนที่เพ้งรับ นวล ภรรยาคนไทยเข้าบ้าน จนเง็กจูขู่จะฆ่าตัวตาย ก๋งเป็นคนชี้ทางสว่างให้เง็กจูเห็นและยอมปรับทัศนคติเพื่ออยู่ร่วมกับลูกหลานในโลกปัจจุบันให้ได้
หรือแม้แต่คนไทยบางคนที่ มาเช่าบ้านอยู่ในชุมชนจีนนี้ ก๋งก็เป็นคนจีนคนเดียวที่ยื่นมือให้ความช่วยเหลือ ขณะที่คนจีนคนอื่น ๆ ตั้งแง่รังเกียจ ไม่ว่าจะเป็น สมพร หญิงสาวผู้โชคร้ายที่หนีออกมาจากซ่องโสเภณี แฉล้ม และไพศาล คู่ผัวเมียที่ทะเยอทะยานในวัตถุจนตกเป็นทาสการพนัน และหาญ กับ จำเรียง หนุ่มสาวที่วิวาห์เหาะมาจากกรุงเทพฯ ชุมชนห้องแถว
หยก กลับ ไปเยี่ยมชุมชนห้องแถวอีกครั้ง เขาเพ่งมองภาพถ่ายขาวดำของงานวันแซยิด ใน ห้องแถวหลังเก่าของตัวเอง เรื่องราวเก่าๆ ยังคงฉายชัดอยู่ในความทรงจำของเขา แม้ว่าวันนี้ชุมชนห้องแถวจะเปลี่ยนแปลงและเจริญขึ้นมากกว่าวันก่อนแล้วก็ตาม
หน้าห้องแถวห้องหนึ่ง เด็กชายคนหนึ่งนอนอ่านหนังสือให้อากงของตัวเองฟัง หยกนึกถึงภาพตัวเองกับก๋งในวัยเด็ก และยิ้มออกมาเมื่อเห็นชื่อหนังสือ “อยู่กับก๋ง” บนหน้าปก หยกเหม่อมองท้องฟ้าราวกับจะมองหาก๋ง อยากให้ก๋งได้เห็นว่าวันนี้ เขาได้ทำตามสัญญาที่เคยให้ไว้กับก๋งแล้ว
ละครโทรทัศน์
วรรณกรรมเรื่อง อยู่กับก๋ง ได้นำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง คือ
ปี พ.ศ. 2536 ผู้แสดงเป็นก๋ง คือ สมชาย อาสนจินดา
ปี พ.ศ. 2548 ผู้แสดงเป็นก๋ง คือ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง