พระศากยมุนีพุทธเจ้า

พระศากยมุนีพุทธเจ้า คือ พระสมณโคดมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน โดยชาวจีนจะเรียกพระนามพระองค์ว่า สิกแกหม่านี้ฮุดโจ้ว หรือ ซื่อเจียเมานีฝอจู่ 释迦牟尼佛祖 ซึ่งเป็นการทับศัพย์ โดยใช้ภาษาจีนของคำว่า ศากยมุนี

พระศากยมุนีพุทธเจ้าเป็นพระมานุษิพุทธเจ้าตามความเชื่อเรื่องพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ และในวัดของมหายาน เรามักจะเห็นพระศากยมุนีพุทธเจ้า (สิกแกหม่านี้ฮุดโจ้ว) เป็นพระหนึ่งใน 3 ไตรพุทธเป็นพระประธานในวัด โดยท่านจะอยู่ตรงกลาง

พระศากยมุนีพุทธเจ้าตามความเชื่อของมหายานคือพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวกันกับพระพุทธเจ้าของทางฝ่ายเถรวาท นั่นคือ พระมหาสมณโคดม หรือ เจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งประสูติ ณ สวนลุมพินีวัน ประเทศอินเดีย (ปัจจุบันอยู่ในประเทศเนปาล) ตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์ ริมแม่น้ำเนรัญชรา (พุทธคยา) และเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานใต้ต้นสาละ ณ เมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย

ตามความเชื่อของพุทธศาสนา แบบเถรวาท นั้นเชื่อว่า วันประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เรียกว่าวันวิสาขบูชา แต่ถ้าเป็นความเชื่อของจึน แบบมหายาน นั้น วันสำคัญของพุทธเจ้า แต่ละวันจะไม่ตรงกัน โดย

วันคล้ายวันพุทธสมภพคือ วันที่ 8 เดือน 4 จีน
วันคล้ายวันเสด็จออกผนวชคือ วันที่ 8 เดือน 2 จีน
วันคล้ายวันทรงตรัสรู้พระโพธิญาณคือ วันที่ 8 เดือน 12 จีน (เทศกาลล่าปา)
วันคล้ายวันเสด็จดับขันธ์รินิพพานคือ วันที่ 15 เดือน 2 จีน

วันวิสาขบูชา เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าถึง 3 เหตุการณ์ คือ การประสูติ การตรัสรู้ และการปรินิพพาน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเหตุการณ์เหล่านั้น คติธรรมหลักคือไตรลักษณ์ อันได้แก่ความเป็นธรรมดาของโลก 3 ประการ คือ อนิจจัง ความไม่เที่ยง ทุกขัง ความเป็นทุกข์คือตั้งอยู่ในสภาพเดิมมิได้ และอนัตตา ความที่สังขารทั้งหลายไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามที่เราต้องการได้ (เช่น บังคับไม่ให้แก่ไม่ได้ บังคับไม่ให้ตายไม่ได้) ซึ่งทุกสรรพสิ่งในโลก ล้วนตกอยู่ในสภาพ 3 ประการนี้ แม้พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระบรมศาสดาของโลก ก็ยังต้องทรงตกอยู่ในกฎเหล่านี้ ไม่มีใครสามารถพ้นไปได้

สำหรับหลักธรรมที่ได้จากเหตุการณ์ในวันวิสาขบูชา ทั้ง 3 เหตุการณ์ คือ

ความกตัญญู : 孝 ความดีทั้งหลายความกตัญญูมาเป็นอันดับแรก

อริยสัจ 4 : ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

ความไม่ประมาท :

“…อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ…” : “พวกเธอทั้งหลาย จงยังประโยชน์ตนและท่าน ให้ถึงพร้อมด้วย ความไม่ประมาท เถิด”