อาหารจีน หยิน หยาง

ตามตำราแพทย์แผนโบราณของจีนระบุว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกใบนี้ แบ่งเป็น 2 ประเภทตามทฤษฎีหยิน-หยาง ถือเป็นพลังธรรมชาติที่ตรงกันข้าม ซึ่งร่วมกันรักษาความสมดุลของสิ่งมีชีวิต ส่วนชาวตะวันตก เชื่อกันว่าในโลกมีพลัง 2 อย่างคือ พลังหดตัวและพลังขยายตัว อาหารก็เช่นกัน แบ่งเป็นอาหารหยินหรืออาหารลักษณะหดตัว และอาหารหยางหรืออาหารลักษณะขยายตัว สำหรับอาหาร ก็สามารถแบ่งได้เป็นอาหารหยินและหยาง โดย อาหารหยิน ธาตุเย็น มีลักษณะคือเก็บไม่นาน หรือเก็บยาก เน่าง่าย มีรูเยอะ เบา น้ำซึมออกไปได้ง่าย ถ้าเป็นพืชก็เติบโตเร็ว ชอบอากาศอุ่นชื้น มีลักษณะเย็น ชื้น …

อาหารจีน หยิน หยาง Read More

เหม่ยหลิงกง

เหม่ยหลิงกง อดีตบ้านพักของเจียงไคเช็ค เป็นสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดัง ตั้งอยู่บนยอดเขาเสี่ยวหง ทางตะวันออกของเมืองนานกิง มณฑลเจียงซู เหม่ยหลิงกง ถูกสร้างตั้งแต่ปี 2474 โดยเป็นที่พักของเจียงไคเช็คและภรรยา จวบจนกระทั่งกองกำลังของเขา ได้พ่ายแพ้แก่กองทัพเหมาเจ๋อตงในสงครามกลางเมืองในแผ่นดินใหญ่ จนต้องถอยมาตั้งหลักที่เกาะไต้หวัน ในปี 2492 เมื่อฤดูกาลผลัดเปลี่ยน ต้นไม้ซึ่งเรียงรายข้างถนนมุ่งหน้าสู่เหม่ยหลิงกง ก็พากันเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อมองจากมุมสูงก็บังเอิญมีรูปทรงคล้ายกับสร้อยคอ ประกอบกับหลังคาบ้านพักสีเขียวซึ่งดูคล้ายกับมรกต กลายเป็นสร้อยคอซึ่งถูกประดับด้วยมรกตเม็ดงาม ท่ามกลางเสียงเล่าลือว่า ที่ดังกล่าวถูกสร้างเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนความรักของอดีตผู้นำพรรคก๊กมินตั๋งกับภริยา นาย เหวิน ฮุ่ยปิน ผู้อำนวยการสำนักจัดการโบราณวัตถุ ประจำสุสานดร.ซุนยัดเซ็น ระบุว่า เจียงไคเช็ค …

เหม่ยหลิงกง Read More

การแสดงตีดอกไม้เหล็ก 打铁花 Iron Flower Display

การแสดงตีดอกไม้เหล็กหรือที่รู้จักกันในชื่อ 打铁花 ในภาษาจีน เป็นประเพณี พื้นบ้านที่สืบทอดกันมานานใน ประเทศจีน รูปแบบศิลปะโบราณนี้เกี่ยวคือการขว้างเหล็กหลอมขึ้นไปในอากาศเพื่อสร้างประกายไฟที่สวยงามและมี ชีวิตชีวา คล้ายกับดอกไม้ บานสะพรั่งในท้องฟ้าในยามค่ำคืน ประเพณีนี้มีความเกี่ยวข้องกับภูมิภาคแม่น้ำเหลืองเป็นหลัก โดยเฉพาะในมณฑลเหอหนานซึ่งมักจัดขึ้นในช่วงเทศกาลและ โอกาสพิเศษ ประวัติศาสตร์และแหล่งกําเนิด ต้นกําเนิดของการแสดงตีดอกไม้เหล็ก ย้อนกลับไ ปในสมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960-1279) เมื่อมีการแสดงตีดอกไม้เหล็กเป็นครั้งแรก ในรูปแบบความบันเทิง ในระหว่างงานเลี้ยงของราชวงศ์ เมี่อเวลาผ่านไป ประเพณีดังกล่าว ได้แพร่กระจาย ไปยังภูมิภาค ต่าง ๆ ของจีน และกลายเป็นกิจกรรมที่นิยม …

การแสดงตีดอกไม้เหล็ก 打铁花 Iron Flower Display Read More

เจิ้งเหอ ขันทีผู้ยิ่งใหญ่

เจิ้งเหอ (ค.ศ. 1371-1433) เดิมชื่อว่า หม่า เหอ เกิดในครอบครัวชาวมุสลิมที่เมืองคุนหยาง มณฑลยูนนานทางตอนใต้ของประเทศจีน มีชื่อตามแบบชาวมุสลิม ที่เป็นภาษาอาหรับว่า “ฮัจญ์ มาห์มุด ซัมซ์” (Hajji Mahmud Shams) บรรพบุรุษของเจิ้งเหอนั้นเป็นคนเชื้อสายเปอร์เซียเผ่าเซมูร์ (Semur) ต่อมาได้อพยพย้ายเข้ามาอาศัยในแผ่นดินจีนช่วงสมัยราชวงศ์หยวน และได้ปรับเปลี่ยนชื่อแซ่เป็นแบบธรรมเนียมจีนในเวลาต่อมาโดยใช้หม่า เป็นแซ่ของตระกูล เพื่อให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตในจีน ส่วนแซ่เจิ้ง เป็นแซ่ที่ได้รับพระราชทานในภายหลัง ในปีรัชศกหงอู่ที่ 14 (ค.ศ. 1381) รัชสมัยจักรพรรดิหมิงไท่จู่ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง …

เจิ้งเหอ ขันทีผู้ยิ่งใหญ่ Read More

พืชพรรณทางใต้ของจีน 南方草木状 Plants of the Southern Regions

หนังสือ 南方草木状 Plants of the Southern Regions (ราว ค.ศ. 304) เชื่อกันว่าเขียนโดย จี้หาน (嵇含, 263-307) นักวิชาการและนักพฤกษศาสตร์แห่งราชวงศ์จิ้นตะวันตก เป็นหนังสือที่บรรยายถึงพืชในหนานเย่ 南越 และเจียวจื่อ 交阯 ซึ่งปัจจุบันคือภาคใต้ของจีนและเวียดนามตอนเหนือ พืชพรรณทางใต้ของจีน เป็นหนังสือเกี่ยวกับพฤกษศาสตร์กึ่งเขตร้อนที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังมีหลงเหลืออยู่ นักเขียนชาวจีนมักจะอ้างถึงหนังสือเล่มนี้บ่อยครั้ง ทั้งในงานวรรณกรรมและหนังสือเทคนิคเกี่ยวกับพืชสวน การเกษตร และสมุนไพรจีน

พืชพรรณทางใต้ของจีน 南方草木状 Plants of the Southern Regions Read More

จุดชมวิวหนานอู่ไท่

จุดชมวิวหนานอู่ไท่ ตั้งอยู่ที่ตีนเขาทางเหนือของเทือกเขาฉินหลิงห่างจากเขต ฉางอาน ทางตอนใต้ ของเมือง ซีอาน ประมาณ 30 กิโลเมตร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวระดับ AAAA เนื่องจาก จุดชมวิวหนานอู่ไถ ตั้งอยู่ ทางใต้ของ ภูเขาอู่ไถ (ภูเขาเหยาหวาง) ใน เทศมณฑลเหยา มณฑลส่านซี จึงได้ชื่อว่าหนานอู่ไถ หนานอู่ไถ มีความสูง 1,688 เมตร เป็น สาขาหนึ่งของ ภูเขาจงหนาน ในสมัยโบราณ เรียกที่นี่ …

จุดชมวิวหนานอู่ไท่ Read More

อุทยานวิทยาศาสตร์สมบัติทั้ง 4 แห่งฉินหลิง秦岭四宝科学公园

มณฑลส่านซีตั้งอยู่ภาคกลางของจีน โดยมีเทือกเขาฉินหลิ่งพาดผ่านกลางตามแนวนอน พื้นที่ทางด้านใต้ของเทือกเขาฉินหลิ่งเรียกว่า “ส่านซีใต้” พื้นที่ทางเหนือของเทือกเขาฉินหลิ่งคือ “ที่ราบกวนจง” รู้จักกันในชื่อ “ฉินชวนแปดร้อยลี้” ขึ้นไปทางเหนือเป็นพื้นที่ใจกลางของที่ราบสูงดินเหลือง เรียกว่า “ส่านซีเหนือ” ความยาวของเทือกเขาฉินหลิ่งจากตะวันตกไปตะวันออกมีมากกว่า 1,600 กิโลเมตร เทือกเขาฉินหลิ่งอยู่ตรงกลางของประเทศ เหมือนเป็นฉากกั้นตามธรรมชาติ อากาศเย็นในฤดูหนาวไม่ง่ายที่จะปีนขึ้นเขาไปทางทิศใต้ อากาศที่อบอุ่นและชื้นในฤดูร้อนยากที่จะเดินทางไปทางทิศเหนือ เนื่องจากเทือกเขาฉินหลิ่ง พื้นที่ของจีนถูกแบ่งออกเป็นด้านทิศใต้และด้านทิศเหนือ ภูเขาไท่ไป๋ เป็นเขาที่สูงที่สุดของเทือกเขาฉินหลิ่ง ที่นี่เคยเป็นดินแดนน้ำแข็ง ที่ได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนตัวของธารน้ำแข็งทั่วโลก เมื่อหนึ่งแสนสองหมื่นปีที่แล้ว ภัยพิบัติในตอนนั้น ทำให้สิ่งมีชีวิตในหลายพื้นที่ล้มตายเป็นจำนวนมาก แต่โชคดีที่สัตว์ป่าสายพันธุ์โบราณบางชนิดที่เทือกเขาฉิ่นหลิ่งได้รับการอนุรักษ์ไว้ สี่สมบัติที่มีชีวิตแห่งภูเขาฉินหลิ่ง นกช้อนหอยหงอน …

อุทยานวิทยาศาสตร์สมบัติทั้ง 4 แห่งฉินหลิง秦岭四宝科学公园 Read More

เซ้งปวย 掷筊 ไม้เสี่ยงทาย คำทำนายของเทพเจ้า

เซ้งปวย คือไม้สีแดงรูปพระจันทร์เสี้ยว มีลักษณะนูนโค้ง 2 ชิ้นวางประกบคู่กัน ใช้เสี่ยงทาย ทำนายควบคู่กับการเสี่ยงเซียมซี วิธีใช้ไม้ปวยเสี่ยงทายจะเริ่มจากการนำไม้ปวยมาประกบกันแล้วตั้งจิตอธิษฐานถึงเทพเจ้า ตั้งมั่นในสิ่งที่อยากจะถามให้องค์เทพรับทราบ ถามได้ครั้งละเรื่องเท่านั้น พออธิษฐานเสร็จแล้วจะโยนไม้สูงพ้นเหนือศีรษะ ไม้ที่หล่นลงมาไม่ว่าจะกระทบกับอะไรก็ตามถือว่าได้รับคำทำนายจากเทพเจ้าแล้ว ผลของการเสี่ยงทายจะมี 3 ลักษณะ เฉี่ยปวย (笑筊) หงาย-หงาย โยนแล้วไม้หงายทั้งคู่ แปลว่า เทพเจ้ากำลังยิ้มหัวเราะอยู่ เพราะเราถามคำถามที่รู้คำตอบอยู่แล้ว หรือไม่คำถามนั้นอาจจะคลุมเครือ หากเกิดกรณีนี้ให้ตั้งจิตแล้วโยนถามใหม่อีกครั้ง อิมโปย 陰筊 หรือ ข่าวปวย 哭筊 หรือ …

เซ้งปวย 掷筊 ไม้เสี่ยงทาย คำทำนายของเทพเจ้า Read More

จิ่วหวงต้าตี้ 九皇大帝 เทพเจ้าประจำเทศกาลกินเจ

จิ่วหวงต้าตี้ 九皇大帝 คือ เทพเจ้าดวงดาวตามความเชื่อโบราณของจีน รวมไปถึงความเชื่อของเต๋า โดยจิ่วหวง 九皇 หมายถึง 9 ราชา ต้าตี้ 大帝 หมายถึง ผู้ยิ่งใหญ่ ตามความเชื่อของเต๋า เชื่อกันว่า ในช่วงเทศกาลกินเจ จะมีการไหว้บูชาเทพเจ้า ทั้ง 9 ซึ่งก็คือ ดาวเหนือ ทั้ง 7 ดวง และดาวประกอบอีก 2 ดวง รวมเป็นเก้าดวง ตามความเชื่อของจีน …

จิ่วหวงต้าตี้ 九皇大帝 เทพเจ้าประจำเทศกาลกินเจ Read More