มหาปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร

ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร (สันสกฤต: प्रज्ञापारमिताहृदय, สันสกฤต-โรมาไนซ์ : Prajñāpāramitā Hṛdaya) คือพระสูตรที่สำคัญและเป็นที่นิยมยิ่งในพุทธศาสนา

ชื่อ “ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร” มีความหมายตามตัวอักษรว่า “พระสูตรอันเป็นหัวใจแห่งปฏิปทาอันยวดยิ่งแห่งความรู้แจ้ง” ในภาษาอังกฤษมักแปลโดยสังเขปว่า “หฤทัยสูตร” (The Heart Sūtra)

พระสูตรนี้มักได้รับการยอมรับว่าเป็นพระสูตรที่มีผู้รู้จักและนิยมที่สุดมากกว่าพระสูตรใดของพุทธศาสนา (ฝ่ายมหายาน เซน, ตันตระ, วัชระญาณ)

ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตรเป็นออกเป็นโศลกภาษาสันสกฤตจำนวน 14 โศลก แต่ละโศลกมี 32 อักขระ ส่วนพระสูตรที่ได้รับการแปลเป็นภาษาจีนโดยพระเสวียนจั้ง (ถังซำจั๋ง) มีทั้งหมด 260 ตัวอักษรจีน ในภาษาอังกฤษมักแปลออกมาได้จำนวน 16 บรรทัด นับเป็นพระสูตรในหมวดปรัชญาปารมิตาที่มีขนาดกระชับที่สุด เนื่องจากพระสูตรในหมวดนี้มักมีขนาดยาว

โดยสังเขปแล้วพระสูตรนี้พรรณนาถึงการบรรลุธรรมของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร อันเกิดจากการเพ่งวิปัสนาอย่างล้ำลึก จนบังเกิดปัญญา (ปรัชญา) ในการพิจารณาเล็งเห็นว่าสรรพสิ่งต่าง ๆ ล้วนว่างเปล่าและประกอบด้วย ขันธ์ 5(ปัญจสกันธะ) อันได้แก่ รูป, เวทนา, สัญญา (สังชญา), สังขาร (สังสการ) และวิญญาณ(วิชญาน)

般若波罗蜜多心经

พระสูตร “ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร” หรือ 般若波罗蜜多心经ฉบับพระตรีปิฎกธราจารย์เสวียนจ้าง สมัยราชวงศ์ถัง แปลจากภาษาสันสกฤตสู่ภาษาจีน ปีพุทธศักราช 1192 และแปลสู่ภาษาไทย โดย โครงการแปลพระสูตรมหายานจีน-ไทย เฉลิมพระเกียรติ เมื่อปี 2555


观自在菩萨行深般若波罗蜜多时,

พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ เมื่อขณะที่บำเพ็ญปัญญาบารมีอย่างลึกซึ้ง


照见五蕴皆空,度一切苦厄。

ได้เห็นว่าขันธ์ทั้งห้าล้วนเป็นความว่าง จึงก้าวล่วงทุกข์ภัยทั้งปวง


舍利子! 色不异空,空不异色;

ดูก่อนสารีบุตร รูปไม่ต่างจากความว่าง ความว่างไม่ต่างจากรูป


色即是空,空即是色。

รูปก็คือความว่าง ความว่างก็คือรูป


受、想、行、識亦复如是。

เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เป็นอย่างนี้


舍利子! 是诸法空相

สารีบุตร ธรรมทั้งปวงว่างจากลักษณะ


不生不灭、不垢不净、不增不减。

ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่แปดเปื้อน ไม่สะอาด ไม่เพิ่ม ไม่ลด


是故,空中无色。

ด้วยเหตุนี้ ในความว่าง จึงไร้รูป


无受、想、行、识。

ไร้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ


无眼、耳、鼻、舌、身、意。

ไร้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ


无色、声、香、味、触、法。

ไร้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์


无眼界,乃至无意识界。

ไร้จักษุธาตุ จนถึงไร้มโนวิญญาณธาตุ


无无明,亦无无明尽。

ปราศจากอวิชชา จึงไม่มีความสิ้นไปของอวิชชา


乃至无老死,亦无老死盡。

ตลอดจนไม่มีชรามรณะ จึงไม่มีความสิ้นไปของชรามรณะ


无苦、集、灭、道。

ไร้ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค


无智,亦无得。

เมื่อไม่มี(สิ่งที่เรียกว่า)ปัญญา จึงไม่มีการบรรลุถึง

以无所得故。

ด้วยไม่มีสิ่งใดๆ ให้บรรลุถึง

菩提薩埵依般若波罗蜜多故,心无罣礙。

เหตุที่พระโพธิสัตว์อาศัยปัญญาบารมี จิตจึงไม่ข้องขัด

无罣礙故,无有恐怖。

เหตุที่ไม่ข้องขัด จึงไม่ตื่นกลัว


远离颠倒梦想,究竟涅槃。

ไกลจากความวิปลาส เพ้อฝัน มีนิพพานเป็นที่สุด

三世诸佛,依般若波罗蜜多故,

พระพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลทั้งสาม ด้วยเหตุที่อาศัยปัญญาบารมี

得阿耨多罗三藐三菩提。

จึงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ

故知般若波罗蜜多,是大神呪、是大明呪、

เหตุนี้พึงรู้ว่า ปัญญาบารมี คือมนตร์ที่มีอานุภาพยิ่งใหญ่ คือมนตร์แห่งความรู้ที่ยิ่งใหญ่


是无上呪、是无等等呪、

คือมนตร์ที่ไม่มีสิ่งใดยิ่งกว่า คือมนตร์ที่ไม่มีสิ่งใดเทียบเสมอ

能除一切苦,真实不虚。 สามารถกำจัดทุกข์ทั้งปวง เป็นสัจจะไม่ลวงหลอก


故说般若波罗蜜多呪,即说呪曰。

เหตุนี้ จึงกล่าวมนตร์แห่งปัญญาบารมีว่า

揭諦。 揭諦。 波罗揭諦。 波罗僧揭諦。 菩提。 萨婆河。

คเต คเต ปารคเต ปารสังคเต โพธิ สวาหา.

…..

อานิสงส์ที่จากการสวดมนต์ภาวนา ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร

  1. เพื่อเพิ่มพูนสติปํญญาให้สามารถเห็นแจ้งในธรรมะ
  2. เพื่อการบรรลุภาวะการเป็นผู้มีดวงตาเห็นธรรม
  3. เพื่อการตรัสรู้และการบรรลุนิพพานโลกธาตุในที่สุด

สำหรับผู้ที่มีเวลาน้อย เดินทางเสี่ยงต่ออันตราย หรือ เผชิญภาวะฉุกเฉิน และ ต้องการตั้งสติขจัดความตื่นกลัวออกไปโดยเร็ว ควรบริกรรม โดยใช้บทสวดมนต์ย่อว่า

“คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โพธิสวาหา”

ซ้ำหลาย ๆ ครั้ง

ท่านพระถังซำจั๋ง กล่าวว่า ท่านสวดบทนี้เมื่อท่านอยู่ในภาวะคับขันในการเดินทางข้ามทะเลทราย ท่านเชื่อว่าทำให้มีสติตั้งมั่น เกิดปํญญา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง