โคมไฟพระราชวังฉางซิ่น

โคมไฟวังฉางซิน ของราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ซึ่งเป็นทองสัมฤทธิ์ของราชวงศ์ฮั่นของจีน ถูกขุดขึ้นมาในปี 1968 จาก หลุมศพของ โต่วหว่าน พระมเหสีของกษัตริย์จิงหลิวเซิง แห่งจงซาน ในเทศมณฑลหม่านเฉิง มณฑลเหอเป่ย (บนหน้าผา ห่างจากเขตหมานเฉิง เมืองเป่าติง มณฑลเหอเป่ย ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 1.5 กิโลเมตร)

โคมไฟพระราชวังฉางซินสูง 48 ซม. เป็นโคมไฟทองแดงรูปทรงมนุษย์เพียงชิ้นเดียวที่เคยค้นพบในบรรดาสิ่งประดิษฐ์ของราชวงศ์ฮั่น นอกเหนือจากการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์แล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของจีนในการแก้ปัญหามลพิษภายในอาคารที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงเมื่อ 2,000 กว่าปีก่อน

แขนยาวขวาของสาวรับใช้ ทำหน้าที่เป็นท่อนำอากาศร้อนที่มีเขม่าจากไฟเข้าสู่ร่างกายกลวง ซึ่งมีน้ำกักเก็บไว้เพื่อดูดซับเขม่า การออกแบบที่ละเอียดอ่อนเช่นนี้ช่วยคลี่คลายปัญหาควันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเทียนในสมัยนั้นส่วนใหญ่ทำจากไขมันสัตว์ ซึ่งปล่อยควันหนาทึบในระหว่างกระบวนการเผา

โคมไฟที่ประกอบด้วยเจ็ดส่วนสามารถถอดและประกอบกลับคืนได้ ซึ่งเป็นวิธีที่สร้างสรรค์ในการเคลื่อนย้ายและทำความสะอาดโคมไฟได้สะดวกยิ่งขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้น แผ่นปิดทั้งสองรอบเปลวไฟยังสามารถเลื่อนได้ ทำให้สามารถปรับทิศทางของแสงและความสว่างได้

โคมไฟพระราชวังฉางซิน ได้รับการจัดแสดงที่ พิพิธภัณฑ์เหอเป่ยทางตอนเหนือของจีน