พระนามจีนในหลวง และตระกูลแซ่ราชวงศ์จักรี

ไทย จีน มีความสัมพันธ์ทางการฑูตกันมายาวนาน ในสมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มต้นตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้มีพระราชสาสน์ และส่งฑูตไปเจริญพระราชไมตรีกับประเทศจีน โดยมีการใช้ชื่อแซ่แบบจีนลงนามในพระราชสาสน์ โดยตระกูลแซ่ของพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี ยังได้สืบต่อมา รวมถึง พระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ก็ทรงมีพระนามเป็นภาษาจีน

สำหรับ ตระกูลแซ่ประจำราชวงศ์จักรี คือ”แซ่เจิ้ง” หรือ “แซ่แต้” ในภาษาจีนแต้จิ๋ว โดยตระกูลแซ่นี้มีที่มา
ตั้งแต่สมัยพระเจ้าตากสินมหาราช โดยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงมีพระนามจีนว่าเจิ้งซิ่น 郑信

พระเจ้าตากสินมหาราช

สำหรับพระนามจีนของพระมหากษัตริย์ไทย ในสมัยรัตนโกสินทร์ของแต่ละพระองค์มีดังนี้

– รัชกาลที่ 1 ทรงมีพระนามจีนว่า เจิ้งหัว 郑华


พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

– รัชกาลที่ 2 ทรงมีพระนามจีนว่า เจิ้งฝอ 郑佛

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

– รัชกาลที่ 3 ทรงมีพระนามจีนว่า เจิ้งฝู 郑福


พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หั

– รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระนามจีนว่า เจิ้งหมิง 郑明


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

– พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระนามจีนว่า เจิ้งเจิ้ง  郑 正


พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

– รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระนามจีนว่าเจิ้งหลง 郑隆


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

– รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระนามจีนว่าเจิ้งเป่า 郑宝

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

– รัชกาลที่ 7 ทรงมีพระนามจีนว่าเจิ้งกวง 郑光


พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

– รัชกาลที่ 8 ทรงมีพระนามจีนว่าเจิ้งสี่ 郑禧


พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

– รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระนามจีนว่าเจิ้งกู้ 郑固

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

– รัชกาลที่ 10 ทรงมีพระนามจีนว่าเจิ้งเหมี่ยน 郑冕


พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

ดังนั้น จึงเป็นราชประเพณีที่สืบต่อกันมาว่า เชื้อพระวงศ์ไทยในราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ ทรงมีตระกูลแซ่ คือแซ่เจิ้ง 郑

ที่มารูปภาพ/ข้อมูล : Wikipedia/baidu/พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒