พระฮุ่ยเหนิง 惠能 หรือ เว่ยหลาง เป็นภิกษุที่มีชีวิตสมัยราชวงศ์ถัง เป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 6 ในนิกายเซนนับจากพระโพธิธรรม หลังจากสืบทอดบาตรจีวรและธรรมจากพระสังฆปริณายกองค์ก่อน
สูตรของเว่ยหลาง
ท่านเว่ยหล่างได้เล่าถึงประวัติของท่าน ซึ่งสนใจในทางธรรมจึงเข้าเป็นศิษย์ในพระสังฆปรินายกหวางยั่น ในระหว่างนั้น พระสังฆปรินายกหวางยั่น ได้มีประสงค์จะมอบตำแหน่งของตนให้กับศิษย์ผู้ที่แต่งโศลกได้เข้าถึงธรรม ในกาลนั้นศิษย์เอกของท่านสังฆปรินายกหวางยั่น ชื่อว่า ชินเชา ได้แต่งโศลกไว้บนกำแพงทางเดินดังนี้
กายของเราคือต้นโพธิ์
ใจของเราคือกระจกเงาใส
เราเช็ดมันโดยระมัดระวัง ทุกชั่วโมง
และไม่ยอมให้ฝุ่นละอองจับ
ซึ่งต่อมาท่านเว่ยหล่างได้อ่านโศลกนี้ ได้ค้นพบว่า โดยจิตเดิมแท้แล้วนั้น โศลกที่ถูกต้องควรเป็นดัวนี้
ไม่มีต้นโพธิ์ ทั้งไม่มีกระจกเงาอันใสสะอาด
เมื่อทุกสิ่งว่างเปล่าแล้ว
ฝุ่นจะลงจับอะไร?
菩提本无树,明镜亦非台。
本来无一物,何处惹尘埃!
——(唐)惠能
โศลกนี้ถูกใจ สังฆปรินายกหวางยั่น เป็นอย่างมากท่านจึงได้มอบ วัชรสูตร จีวร และบาตร อันเป็นเครื่องหมายแห่งการสืบทอดสังฆปรินายก แก่ท่านเว่ยหล่าง
ตำนานร่างภิกษุพันปี
พระฮุ่ยเหนิง มรณะภาพในสมัยราชวงศ์ถัง เมื่อปีพ.ศ. 1256 หลังจากน้ันร่างสังขารของท่านไม่เน่าเปื่อย เก็บรักษาไว้ที่วัดหนานหวา มณฑลกวางตุ้ง ปัจจุบันมีอายุกว่า 1,000 ปี ร่างสังขารนี้อยู่ในท่านั่งสมาธิความสูง 80 ซม. ด้านนอกใช้ผ้าบางพันทับไว้แล้วเคลือบรักสีแดง ภายในกลวง มีแกนเหล็กต่อไว้กับกะโหลกศีรษะมนุษย์
ในอดีตเคยมีการเคลื่อนย้ายรางสังขารไปประดิษฐานที่เมืองซานโจว เพื่อให้บารมีของท่านปัดเป่าโรคระบาดและภัยแล้ง ต่อมาร่างเกือบถูกตัดศีรษะระหว่างการชิงอำนาจของพระสงฆ์ 2 กลุ่ม คือฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ โดยฝ่ายเหนือกล่าวหาว่าพระสังฆนายกไม่สมควรรับตำแหน่งประมุขที่แท้จริง
ขณะที่เกาหลียังมีตำนานเล่าว่า พระซัมพ็อบ และพระแทพี เดินทางไปศึกษาศาสนาที่วัดหนานหวา เมื่อกลับมาเกาหลีได้นำกระโหลกศีรษะของพระสังฆนายกมาเก็บรักษาไว้ที่วัดยุกโจซา เมื่อปี 1265 แต่ตำนานนี้ไม่น่าจะเป็นจริงแต่อย่างไร นอกจากนี้ มัตเตโอ ริชชี (Matteo Ricci) บาทหลวงชาวอิตาลี ยังเคยชมร่างสังขารนี้ ระหว่างการเยือนจีนเมื่อปี 2132
รายละเอียดของตำนานเหล่านี้มีอยู่ว่า ก่อนที่ท่านจะมรณภาพ พระสังฆนายกฮุ่ยเหนิง ชำระร่างกายแล้วนั่งในท่าทำสมาธิแล้วดับขันธ์ จากนั้นบรรดาสานุศิษย์ได้นำผ้าบางชุบน้ำยารักมาพันร่างท่านเพื่อรักษาสภาพ ในหนังสือ “บันทึกส่งมอบธรรมโชติ” หรือหนังสือชีวประวัติพระเถระนิกายฉาน ได้บรรยายเหตุการณ์ในครั้งนั้นไว้ว่า
“ครั้นบรรดาศิษยานุศิษย์ รำลึกได้ว่าท่านอาจารย์ได้ทำนายไว้ว่า จะมีคนผู้หนึ่งตัดศีรษะของท่านไป จึงพากันติดแถบเหล็กและห่มร่างท่านด้วยผ้าชุบน้ำยารักจนถึงส่วนคอ ภายในพระสถูปยังประดิษฐานผ้ากาสาวพัสตร์” ที่สือบทอดมาแต่ครั้งพระโพธิธรรม รวมถึงผ้าไตรจีวร และบาตรที่พระราชทานถวายโดยฮ่องเต้ถังจงจง รวมถึงรูปเหมือนของพระสังฆนายกทำขึ้นจากดิน ปั้นโดยฟางเปียน และสิ่งของจิปาถะเกี่ยวกับศาสนา จากนั้นได้มีการจัดเวรดุแลพระสถูป จนกระทั่งถึงวันที่ 3 เดือน 8 ปีที่ 10 แห่งรัชศกไคหยวน (18 กันยายน 722) กลางดึกคืนนั้น มีผู้ได้ยินเสียงคล้ายโซ่ลากไปมาแว่วมาจากสถูป บรรดาพระสงฆ์ในวัดจึงพากันตื่นขึ้น แล้วรุดไปตรวจสอบ พบชายคนหนึ่งในชุดไว้ทุกข์วิ่งออกมาจากสถูป หลังตรวจสอบร่างสังขารของท่านอาจารย์พบว่าร่องรอยเสียหายที่ส่วนคอ”
ชายผู้นั้นสารภาพว่า ได้รับการว่าจ้างโดยพระสงฆ์ชาวเกาหลีให้ขโมยศีรษะของพระสังฆนายก เพื่อที่จะนำไปบูชาที่เกาหลี นอกจากนี้ ในรัชศกไคเป้า พระสถูปยังถูกอัคคีภัยเผาผลาญจนสิ้น แต่พระสงฆ์ช่วยกันนำร่างสังขารของพระสังฆนายกออกมาได้อย่างทันการณ์ นับว่า ร่างสังขารของท่านรอดพ้นเหตุการณ์เลวร้ายมาได้ แม้จะเกือบไม่ตลอดรอดฝั่งก็ตาม
สำหรับการเก็บรักษาร่างสังขารพันปี ตามตำนานกล่าวไว้ว่า พระเจ้าถังไท่จง ทรงมีพระบรมราชโองการประกาศให้ร่างสังขารนี้เป็นสมัติอันล้ำค่าของแผ่นดิน ต่อมาพระเจ้าถังเสวียนจงทรงสร้างพระสถูปประดิษฐานร่างพระสังฆนายก ต่อมาพระเจ้าซ่งไท่จงขยายพระสถูปเป็น 7 ชั้น แม้แต่ฮ่องเต้ชาวมองโกลสมัยราชวงศ์หยวน ก็ยังมีพระบรมราชโองการประกาศคุ้มครองพระสถูป และต่อมาในปี 2020 ฮ่องเต้ราชวงศ์หมิงแปลงพระสถูปไม้เป็นก่ออิฐ
ในระยะพันกว่าปีที่ผ่านมา ไม่เพียงรอดพ้นจากการเสื่อมสลาย ร่างสังขารนี้รอดพ้นหายนะมากมาย แต่ก็เป็นประเด็นสงสัยมาตลอดเช่นนกันว่า เป็นของจริงหรือไม่? ก่อนหน้านี้เชื่อกันว่าเป็นแค่รูปปูนปั้่น ในรัชสมัยเสียนเฟิง แห่งราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2393 – 2440 ) มีทหารกบฏไท่ผิงบุกเข้ามาทำลายรูปร่างสังขารนี้ แต่พระสงฆ์ช่วยกันซ่อมแซม ซึ่งคาดว่าได้มีการเสริมแกนเหล็กในโครงร่างไว้ในช่วงเวลานี้
ในปี 2509 ในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม มีพวกเรดการ์ดเข้ามาเจาะที่ด้านหลังร่างสังขาร พบว่าข้างในเป็นโครงมีเหล็กไร้สนิมค้ำกระโลกศีรษะไว้ และต่อมาในปี 2513 เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์มณฑลกว่างตงตรวจสอบพบร่างกายมีซี่โครง และไหปลาร้า ส่วนกระดูสันหลังมีแกนเหล็กรองรับไว้ และในปี 2530 นักิวจัยชาวญี่ปุ่นยืนยันไม่พบรอยต่อที่ส่วนคอและศีรษะ แสดงว่าไม่เคยถูกทำลายส่วนศีรษะดังในตำนานโบราณ การตรวจครั้งสุดท้ายมีขึ้นในปี 2533 ผู้เขียนประวัติวัดหนานหวา ยืนยันจากการตรวจสอบด้วยตัวเองพร้อมกับเจ้าอาวาสว่า เป็นร่างจริง
ขอบพระคุณ
ข้อมูลจากเพจ คลังพุทธศาสนา