กำแพง 9 มังกร 九龙壁 Nine Dragon Wall เป็นงานสถาปัตยกรรมจากกระเบื้องเคลือบ ในประเทศจีนมีทั้งหมด 4 แห่งประกอบด้วย
กำแพง 9 มังกรที่ กู้กง ปักกิ่ง
กำแพงเก้ามังกรแห่งพระราชวังต้องห้าม กู้กง ปักกิ่ง โดยความโดดเด่นของกำแพงเก้ามังกรที่นี่ ถือว่าเป็นกำแพงเก้ามังกรแห่งเดียวที่อยู่ในพระราชวัง และเล็บมังกรจะมีทั้งสิ้น 5 เล็บ ในขณะที่กำแพงเก้ามังกรที่อื่นจะมีเพียง 4 เล็บ แสดงถึงอำนาจขององค์ฮ่องเต้
เรื่องเล่าที่สำคัญอีกประการหนึ่งของกำแพงเก้ามังกรที่นี่คือ ท้องมังกรซึ่งเป็นแผ่นไม้แกะสลักแทนที่จะเป็นกระเบื้องเคลือบ เนื่องจากเล่ากันว่าช่างผู้เผากระเบื้องเคลือบไม่สามารถสร้างกำแพงได้เสร็จตามเวลา จึงเกรงว่าจะถูกลงโทษ จึงใช้วิธีแกะสลักไม้และลงสีให้เหมือนกับเป็นแผ่นกระเบื้องเคลือบ แต่พอวันเวลาผ่านไป เมื่อสีได้จางลงจึงทราบว่าเป็นแผ่นไม้แกะสลัก
กำแพง 9 มังกร ที่ สวนเป่ยไห่ ปักกิ่ง
กำแพงเก้ามังกรแห่งสวนเป่ยไป่ ปักกิ่ง เป็นศิลปะกำแพงเก้ามังกรแบบ 2 ด้านสร้างขึ้นในปี 1756 สร้างขึ้นในสมัยฮ่องเต้เฉียนหลง มีความสูง 5.96 เมตร ความยาว 25.52 เมตร ความหนา 1.6 เมตร เนื่องจากเป็นกำแพง 9 มังกรแบบ 1 ด้าน จึงนับได้ว่าเป็นกำแพง 18 มังกร
กำแพง 9 มังกร ที่ เมืองผิงเหยา ซานซี
กำแพงเก้ามังกรแห่งผิงเหยา ในมณฑลซ่านซี สร้างขึ้นในสมัยต้นราชวงศ์หมิง เดิมทีเคยเป็นกำแพงของวัดไท่จื่อ 太子寺 แต่ถูกทำลายโดยน้ำท่วมในปี 1977 และได้มีการซ่อมแซมในภายหลัง
กำแพง 9 มังกร ที่ เมือง ต้าถง ซานซี
กำแพงเก้ามังกรแห่งต้าถง ถือเป็นกำแพงเก้ามังกรที่เก่าแก่ที่สุด และใหญ่ที่สุดใประเทศจีน ถูกสร้างขึ้นในสมัยต้นราชวงศ์หมิง เพื่อเป็นเกียรติแก่โอรสองค์ที่ 13 ของจักรพรรดิหมิงไท่จู่ จูหยวนจาง ปฐมกษัตริย์กษัตริย์ราชวงศ์หมิง ซึ่งเป็นผู้ปกครองเมืองต้าถงในสมัยนั้น
กำแพงเก้ามังกรแห่งต้าถง เป็นกำแพงที่สร้างขึ้นจากอิฐและกระเบื้องเคลือบสูง 8 เมตร ยาว 45 เมตร และหนา 2 เมตร สามารถแบ่งได้ประมาณ 3 ส่วน คือ ส่วนฐานทรงสี่เหลี่ยมด้านล่าง ซึ่งตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบเป็นรูปสัตว์มงคลต่าง ๆ ของจีน ถัดขึ้นมา คือส่วนรูป มังกรทั้ง 9 ในอิริยาบถต่าง ๆ กัน และส่วนหลังคาบนสุดที่ ทำจากกระเบื้องเคลือบ เช่นเดียวกัน
Cr. PingYao Tourism/ Datong Tourism