มังกรกำเนิดลูกทั้ง 9 ต่างมีข้อดีต่างกัน 龙生九子不成龙,各有所好。 เป็นสำนวนจีน มีความหมายเปรียบเปรยถึงพี่น้องร่วมสายเลือด ที่ถึงแม้จะมีพ่อแม่คนเดียวกัน แต่ก็ย่อมมีความมีความแข็งแกร่ง ความอ่อนแอ และความสนใจที่แตกต่างกันไป
ที่มาของสำนวนนี้ มาจากความเชื่อที่ว่า มังกรจีนมีลูกทั้ง 9 ซึ่งบุตรมังกรทั้ง 9 ต่างมีอิทธิฤทธิ์ และความชอบแตกต่างกันไป ประกอบด้วย
1. ชิวหนิว 囚牛มีนิสัยชอบดนตรี มักปรากฏบนเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ
2. หยาจื้อ 睚眦 ชอบการฆ่าและกลิ่นคาวเลือด มีนิสัยชอบต่อสู้และเอาชนะ หยาจื้อจึงมักถูกนำมาประดับบนอาวุธ บน มีด ดาบ
3. เฉาเฟิง 嘲风 มีสี่ขา ชอบการผจญภัย เป็นสัญลักษณ์ของความศิริมงคล ความสวยงามและสง่าผ่าเผย เชื่อว่าสามารถขจัดภูตผีปีศาจและสิ่งอัปมงคลได้ด้วย
4. ผูเหลา 蒲牢 pǔláo ผูเหล่าอาศัยอยู่ริมฝั่งทะเล ชอบการร้องคำราม แม้เป็นลูกมังกร แต่กลัวสัตว์ใหญ่ เช่น ปลาวาฬ เมื่อเจอปลาวาฬ ก็จะลำเลียงร้องทันที ดังนั้น ผูเหลา จึงถูกนำมาไว้บนระฆัง จากนั้นสลักไม้ตีระฆังเป็นรูปปลาวาฬ เมื่อนำไปตีระฆัง จะได้เสียงที่สดใสดังกังวาน
5. ซวนหนี 狻猊 suān ní มีรูปเป็นราชสีห์ ชอบเพลิงไฟ และชอบนั่งนิ่ง ๆ มักพบซวนหนีที่กระถางธูปและแท่นที่ตั้งบูชาพระพุทธรูปในวัด
6. ปี้ซี่赑屃 bì xì มีลักษณะเป็นเต่ากระดองหนา มีแรงมาก เต่าเล็ก เนื่องจากมีกระดองหนามาก สามารถรับแรงกดหนักๆ มีแรงมาก จึงเป็นสัตว์ที่แบกป้ายหินในวัดและโบราณสถานต่างๆ ปี้ซี่เป็นสัญลักษณ์ศิริมงคลและอายุยืนยาว
7. ปี้อั้น 狴犴 bì àn มีลักษณะเหมือนเสือ เป็นสัตว์ที่รู้จักและแยกแยะความผิดถูกได้ เป็นสัญลักษณ์ของยุติธรรม สมัยก่อน มักถูกใช้มาประดับประตูของเรือนจำ และตั้งไว้ในสองข้างของห้องพิพากษาตัดสิน เพื่อใช้ช่วยรักษาความเที่ยงธรรมของการตัดสิน
8. ฟู่ซี่负屃 fùxì มีความแข็งแรง ชอบวรรณกรรมและวรรณคดี เล่ากันว่า ฟู่ซี่ชอบอ่านหนังสือที่แกะสลักบนป้ายหิน ซึ่งมีเนื้อหาหลากหลาย รวมถึงบทกวี และวรรณคดีที่แต่งขึ้นอย่างสละสลวย ฟู่ซี่จึงยอมแปลงตัวเป็นลายมังกรไปประดับบนศิลาจารึก ให้ป้ายหินดูสวยงามยิ่งขึ้น
9. ฉื่อเหวิ่น 螭吻 chī wěn หรือ ฉื่อเหว่ย 鸱尾 มีรูปร่างเป็นมังกร ปากกว้าง เป็นสัตว์ที่ขจัดภัยพิบัติและดับเพลิง มักถูกตั้งไว้บนหลังคาของตำหนักหรือบ้าน เพื่อรักษาความปลอดภัยและขจัดสิ่งอัปมงคล