ทำไมอังกฤษจึงไม่ใช้กำลังยึดฮ่องกง

มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของสหราชอาณาจักร เธอคือผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษ – จีน โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษที่ 1980s เธอมีบทบาทอย่างมากในการเจรจาคืนเกาะฮ่องกงสู่จีนให้เป็นไปด้วยความราบรื่น

ถึงแม้ว่าเธอจะยึดมั่นในผลประโยชน์ของสหราชอาณาจักรในประเด็นที่มีต่อเกาะฮ่องกง แต่เธอก็ตระหนักถึงความสำคัญในวิธีปฏิบัติและการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศจีน

หนังสืออัตชีวประวัติของ มาร์กาเร็ต แทตเชอร์

ในหนังสืออัตชีวประวัติของเธอชื่อ “มาร์กาเรต แทตเชอร์: ชีวิตในดาวนิงสตรีต” (Margaret Thatcher: the Downing Street Years) ซึ่งเธอได้บันทึกความทรงจำส่วนตัว และมีตอนหนึ่งกล่าวถึงการเจรจากับเติ้งเสี่ยวผิงใน เรื่องการคืนเกาะฮ่องกงให้กับจีน ที่เกิดขึ้น ในปี 1982 ว่า

เติ้งเสี่ยวผิงค่อนข้างดื้อรั้น และไม่ยอมที่จะถูกเกลี้ยกล่อมได้ง่าย ๆ

ในระหว่างการเจรจา มีอยู่ครั้งหนึ่ง ที่เติ้งกล่าวว่า “คนจีนสามารถเดินเข้าไปและยึดฮ่องกงได้เลย หากพวกเขาต้องการ”

นอกจากนี้ นายทอม เพลท นักเขียนชาวอเมริกันที่ได้เล่าในบทความ กับ China Daily ว่ามีโอกาสได้ถามนาง มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ ในภายหลังความว่า

“ท่านนายกฯ คุณสั่งทหารอังกฤษบุกเกาะฟอล์กแลนด์ ในการทำสงครามแย่งสิทธิกับอาร์เจนตินาได้ เหตุใดคุณจึงไม่ส่งทัพเรืออังกฤษมายึดฮ่องกงเสียเล่า?”

แต่ แทตเชอร์ ได้ให้คำตอบว่า

“เมื่อนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร สั่งทหารเข้าไปทำสงคราม มันจะต้องเป็นสงครามที่เธอเชื่อว่าจะต้องเอาชนะได้ ไม่ใช่สงครามที่พ่ายแพ้ หากเราทำเช่นนั้น เราคงเสร็จจีนอย่างแน่นอน…”

แต่จริง ๆ แล้วในตอนนั้น แทตเชอร์มีไพ่ในการเจรจาต่อรองน้อยมาก และประเทศจีนในตอนนั้นเริ่มมีพลังในเวทีโลก

การเจรจาของผู้นำจีน และสหราชอาณาจักร

นาง แทตเชอร์ จึงทำได้เพียงตอบโต้กับเติ้งเสี่ยวผิง โดยชี้ให้เห็นว่าเติ้งตัดสินใจใช้กำลังทหารในกรณีของฮ่องกง โดยกล่าวว่า “แน่นอนว่าจีนสามารถส่งกำลังทหารเข้ามาเอาฮ่องกงกลับไปได้ และเธอก็ไม่สามารถที่จะหยุดจีนได้ แต่นั่นหมายถึงการล่มสลายของเกาะฮ่องกง และโลกก็จะรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อฮ่องกงได้เปลี่ยนจากในความครองครองจากอังกฤษกลับไปเป็นของจีน”

แทตเชอร์ ได้ระบุว่า เมื่อเติ้งเสี่ยงผิง ได้ฟังประโยคข้างต้นแล้ว ก็เหมือนจะยอมรับความจริงข้อนั้น และดูเหมือนว่าเป็นครั้งแรกที่เติ้งแสดงท่าทีว่ายอมถอย จากนั้นเขาจึงเริ่มมีท่าทีที่ผ่อนปรนมากขึ้น  

พิธีคืนเกาะฮ่องกงให้กับจีน

ในที่สุด หลังจากการจบเจรจา สหราชอาณาจักรจึงต้องยินยอมส่งมอบคืนเกาะฮ่องกงให้กับจีน เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 1997 ภายใต้ข้อตกลงที่ว่าฮ่องกงจะอยู่ในฐานะเขตบริหารพิเศษที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง โดยรัฐบาลจีนจะใช้นโยบาย หนึ่งประเทศ สองระบบ ในการปกครองฮ่องกง ต่อไปอีก 50 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 1997 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2047

ข้อมูล China Daily

ดูเพิ่มเติม ลีลาการฑูตของเติ้งเสี่ยวผิงในการเจรจาคืนเกาะฮ่องกงให้แก่จีน