วันฉูสู่ วันสิ้นสุดฤดูร้อน

วันฉูสู่ 处暑 เป็นฤดูกาลที่ 14 ใน 24 ฤดูกาลจีน เป็นวันสิ้นสุดฤดูร้อนในประเทศจีน และเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง

ชมทิวทัศน์ต้นฤดูใบไม้ร่วง

ในช่วงวันฉูสู่นั้น เป็นช่วงที่ผ่านวันลี่ชิว หรือวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วงมาแล้ว ดังนั้นต้นไม้ใบไม้จึงเริ่มมีการเปลี่ยนสี เป็นสีเหลือง สีแดง โดยเฉพาะทิวทัศน์บริเวณกำแพงเมืองจีน ซึ่งจะมีทิวทัศน์ใบไม้เปลี่ยนสีควบคู่ไปกับความยิ่งใหญ่ของกำแพงเมืองจีน ยิ่งใหญ่และงดงามมาก

เทศกาลจงหยวน (เทศกาลสารทจีน)

เทศกาลสารทจีน เกิดขึ้นในช่วงหลังวันฉูสู่ คำว่า สารท หมายถึง ฤดูใบไม้ร่วง สารทจีน คือ เทศกาลทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงผีไม่มีญาติทั้งหลาย ทั้งนี้ในช่วงเดือน 7 ของจีน จะถือเป็นเดือนผี และเทศกาลสารทจีน ถือเป็น เทศกาลผี หรือ กุ่ยเจี๋ย

ฟัง ตำนานเทศกาลสารทจีน | วันเปิดประตูผี ประเพณีทิ้งกระจาด

ดอกถานฮัวบาน

ถานฮัว 昙花 ในภาษาไทยเรียกว่าดอกโบวตั๋น แต่เป็นคนละพันธ์กับดอกโบตั๋น หรือมู่ตัน 牡丹花

ถานฮัว ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Night Blooming Flower เนื่องจากเป็นพรรณไม้ที่จะบานเฉพาะในเวลากลางคืน และใช้เวลาในการเบ่งบานและร่วงโรยในเวลาเพียงค่ำคืนเดียว จึงได้รับฉายาว่า ราชินีแห่งรัตติกาล หรือราชินีหนึ่งค่ำคืน Queen of One Night

ดูเพิ่มเติม สำนวนจีน ถานฮัวชั่วข้ามคืน 昙花一现

3 ช่วงเวลาในช่วงวันฉูสู่

一候鹰乃祭乌,二候天地始肃,三候未乃登

นกอินทรีเริ่มล่านก ฟ้าดินเริ่มสงบ เข้าสู่การเก็บเกี่ยว

อาหารจีน ในวันฉูสู่

ชาวจีนเชื่อว่า อาหารแต่ละชนิดให้พลังหยิน (เย็น) หยาง (ร้อน) แตกต่างกันไป โดยในช่วงปลายฤดูร้อน ต้นฤดูใบไม้ร่วงนั้น ควรมีการรับประทานอาหารที่ช่วยขจัดความร้อนส่วนเกินออกจากร่างกาย

กินเป็ด

ชาวจันเชื่อว่าเนื้อเป็ดให้พลังหยิน ดังนั้นจึงนิยมกินเป็ดกันในช่วงวันฉูสู่

แต่ถึงแม้จะบอกว่าเป็ดให้พลังหยิน (เย็น) ก็ไม่ได้หมายความว่าต้องกินแบบเย็น ๆ แต่สามารถนำเนื้อเป็ดมาทำได้หลายเมนู เช่น นำมาทำเป็ดย่าง หรือต้มเป็นน้ำซุป

ในทางการแพทย์จีน เนื้อเป็ดมีสรรพคุณเย็น เหมาะสำหรับผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ หัวเป็ดช่วยขับปัสสาวะ ลดอาการบวม เลือดเป็ดช่วยบำรุงเลือด

ติดตามเรื่องเล่าจีนได้ที่ ช่อง Chinatalks และ Fanpage Chinatalks